ทำไมมะเร็งเต้านมถึงน่ากลัว

มะเร็งเต้านม นับเป็นภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้ามโดยเฉพาะผู้หญิงไทยและทั่วโลก เพราะเป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ในผู้หญิง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด และเพิ่มขึ้นทุกปีสำหรับผู้หญิง จนกลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก ในทุก ๆ 2 นาทีจะมี  ผู้หญิงอย่างน้อย 1 คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ทั้งนี้หลายคนมักเข้าใจผิดว่าโรคนี้เป็นเฉพาะผู้หญิง ผู้ชายก็เป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วยเช่นกัน แถมมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไม่น้อย เพราะไม่แสดงอาการให้เห็นชัด กว่าจะรู้ตัวอาการจะรุนแรงเกินรักษาแล้ว ฉะนั้น เรามาดูกันว่า ทำไมมะเร็งเต้านมถึงน่ากลัวและไม่ควรมองข้าม เพื่อป้องกันและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ได้ แต่ถ้าอยากรู้ว่าต้องรักษาไวแค่ไหนถึงจะทันสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาหายก่อน

 

มะเร็งเต้านม โรคร้ายคร่าชีวิตคนมากมาย

อย่างที่กล่าวตั้งแต่ต้นว่า มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก เช่นที่สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้หญิง 1 ใน 8 จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมตลอดชีวิต ซึ่งในปี 2022 พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะลุกลามรายใหม่สูงกว่า 287,500 คน และอาจมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้สูงมากกว่า 43,500 ราย โดยมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงชาวอเมริกันเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด นอกจากนั้น การวินิจฉัยโรคมะเร็งในผู้ป่วยหญิงใหม่ทั้งหมดในปีนี้ อาจเป็นมะเร็งเต้านมราว 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกัน ผู้หญิงคนหนึ่งจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในสหรัฐอเมริกา จะเกิดขึ้นทุกๆ 2 นาที

ส่วนที่ประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย จากข้อมูลในปี พ.ศ.2563 ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีผู้หญิงไทยป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 18,000 คนต่อปี คิดเป็น 49 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมประมาณ 4,800 คน หรือคิดเป็น 13 คนต่อวัน ซึ่งแนวโน้มอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2566 จะพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 22,000 คนต่อปี

 

มะเร็งเต้านม ภัยร้ายที่ผู้ชายไม่ควรประมาท

มะเร็งเต้านม ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงเพียงเพศเดียว ผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแม้จะพบเจอได้น้อยกว่า โดยในสหรัฐฯ มีรายงานสถิติพบว่า จะเจอผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชายต่ำกว่าร้อยละ 1 ต่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศหญิง 100 คน และมีเพียง 1 ใน 1,000 ที่ผู้ชายจะได้รับการตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม ที่สำคัญ ในปี 2022 ผู้ชายชาวอเมริกันราวๆ 2,700 คน จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม และผู้ชายราวๆ 530 คน เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมหรือราว ๆ 20% ของผู้ชายที่เป็นมะเร็งเต้านม

เนื่องจากมะเร็งเต้านมพบในผู้ชายน้อยมาก ทำให้ผลการวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมของเพศชายมีน้อยถึงน้อยมาก จึงไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าที่ควร และคนส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่า มะเร็งเต้านมเกิดกับผู้ชายได้เช่นกัน ยิ่งผู้ชายคนไหนตรวจพบว่า มีก้อนเนื้อแข็งใต้หัวนม ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เราอาจจะสันนิษฐานไปก่อนเลยว่า ก้อนเนื้อนั้นอาจเป็นมะเร็งเต้านม และรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการที่แน่ชัดต่อไป แต่ในหลาย ๆ รายกว่าจะรู้ก็ตัวก็ได้รับการรักษาช้าไปเสียแล้ว ทำให้มีอาการป่วยขั้นรุนแรงจนเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งจะพบได้ในกลุ่มผู้ชายวัยทอง อายุ 50 ปีขึ้นไป

 

ทำไมมะเร็งเต้านมถึงน่ากลัว

อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า โรคมะเร็งเต้านม หรือโรคมะเร็งอื่นๆ มักจะไม่แสดงอาการใดๆ ในระยะแรก จึงอาจไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งเต้านม จึงต้องหมั่นตรวจเช็คด้วยตนเองเป็นประจำ หรืออาจจะเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องมือเฉพาะ ส่วนสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม ที่มีการแบ่งตัวผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ จนแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลืองไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่น รักแร้ กระดูกไหปลาร้า ปอด ตับ หรือสมอง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในเพศชาย ส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งเต้านมแบบลุกลามออกนอกท่อน้ำนม (Invasive Ductal Carcinoma หรือ IDC) ซึ่งเกิดจากเซลล์มะเร็งในท่อน้ำนมหรือโดยรอบ ทะลุผ่านผนังท่อน้ำนม จนลุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง ท่อน้ำเหลือง หรือกระแสเลือดได้

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดมะเร็งเต้านมได้ เช่น มีประวัติทางพันธุกรรมว่าคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เกี่ยวข้องกับยีน BRCA2 โดยในกลุ่มที่มีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือยีน BRCA2 จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนปกติถึง 5 เท่า หรือผู้ที่มีฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของ DNA มาแต่กำเนิด หรือมีประวัติการรักษาด้วยวิธีการฉายรังสี หรือเคยโดนรังสีบริเวณหน้าอก เป็นต้น

 

หัวนมผิดปกติ…อย่าชะล่าใจ เพราะอาจเป็นมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมที่ปรากฏในผู้หญิงและผู้ชาย ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคล้ายๆ กัน นั่นคือ เมื่อสังเกตตัวเองจะพบความผิดปกติบริเวณเต้านม เช่น เมื่อคลำหรือบีบจะพบก้อนเนื้อในเต้านม มีของเหลวหรือน้ำเหลืองไหลจากหัวนม เป็นผื่นแดงหรือคันบริเวณหัวนม หรือหัวนมบอด หัวนมยุบ หากมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่า มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรัง อาจลุกลามจนมีอาการต่างๆ เช่น ปวดกระดูก ต่อมน้ำเหลืองบวมบริเวณรอบรักแร้ เหนื่อยง่าย หายใจหอบถี่ คลื่นไส้ ตัวเหลืองตาเหลือง หรือปล่อยทิ้งไว้ในระยะสุดท้าย จะยากต่อการรักษาและเสียชีวิตได้ในที่สุด

เพราะฉะนั้น การตรวจรักษาโรคมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่า สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง หรือพบแพทย์เข้ารับการตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม หรือหากเป็นกรณีที่ตรวจพบเจอก้อนเนื้อ อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อตรวจเจาะชิ้นเนื้อ

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ชาย ก็สามารถลดภาวะความเสี่ยงได้ด้วยวิธีเดียวกันนั่นคือการการตรวจด้วยการคลำ การทำ Mammogram และการตัดชิ้นเนื้อ ส่วนผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจเอ็กซเรย์เต้านมปีละ 1 ครั้ง ขณะที่การรักษามะเร็งเต้านม ของผู้ชายแทบจะไม่แตกต่างจากของเพศหญิง ส่วนวิธีรักษา แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าใช้วิธีการรักษาแบบใด ทั้งการผ่าตัดหาก้อนเนื้อ การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัด

 

“เทคโนโลยี AI” มิติใหม่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

แม้ว่าการตรวจหามะเร็งเต้านมในปัจจุบันจะตรวจด้วยด้วยเครื่องมือที่ความละเอียดสูงเพียงใด ในจุดที่มองเห็นได้ยากด้วยสายตามนุษย์ก็อาจจะมีโอกาสพลาดได้ ทำให้โรงพยาบาลหลายๆ แห่ง เริ่มนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence; AI) มาใช้ในวงการการแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม แพทย์จะนำเทคโนโลยี AI มาช่วยอ่านภาพและหาความผิดปกติที่อาจมองเห็นได้ยาก จากภาพถ่ายแมมโมแกรมเพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและพบเจอโรคได้ในระยะต้นให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

ที่มา

About Breast Cancer
Breast Cancer Symptoms and Signs
Invasive Ductal Carcinoma (IDC)
What Is Breast Cancer Screening?
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
การตรวจคัดกรองยีน (BRCA) เพื่อดูปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Resources

While startup life is often characterized by its fast-paced, bustling environment, what's about life at Perceptra? Let's dive in to explore more about our culture (We have some interview tricks from our HR team inside the article!)
Meet Boss, our DevOps Engineer whose story didn't start in a traditional software role
Let's explore the principles of responsible AI development and deployment, and discuss the key considerations you need to be aware of before adopting AI solutions in your organization, specifically for the healthcare industry.