เทรนด์ Health Tech 2025: ส่องเทคโนโลยีกำลังปฏิวัติวงการแพทย์

แม้อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะเกิดปัญหาขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์คาดว่าจะประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ 139,000 คน และพยาบาล 63,000 คนภายใน 5 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย

ในบทความนี้จะพาคุณไปสำรวจ 3 เทรนด์ Health Tech ที่กำลังปฏิวัติวงการแพทย์ในปี 2025

AI: เมื่อปัญญาประดิษฐ์กลายเป็นผู้ช่วยแพทย์ที่ทรงพลัง

ปี 2024 ถือเป็นปีทองของ AI อย่างแท้จริง เมื่อหลากหลายอุตสาหกรรมเริ่มนำ AI มาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน และวงการแพทย์ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จากข้อมูลของ CB Insights แสดงให้เห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ AI ในวงการแพทย์ ทั้งในแง่การลงทุนและการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งความเคลื่อนไหวเหล่านี้สะท้อนความเชื่อมั่นของตลาดต่อศักยภาพของ AI ในวงการแพทย์ ปัจจุบันได้มีการนำ AI เข้ามาช่วยในเรื่องของการโรค (Disease Management)

AI ตรวจจับรอยโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

โรคภัยเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้าหากเกิดขึ้นแล้วก็คงจะดีถ้าผู้ป่วยได้มีโอกาสรู้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและรักษาได้ทันท่วงที ปัจจุบันได้มีการพัฒนา AI เพื่อตรวจจับรอยโรคจากอวัยวะหรือพฤติกรรมต่าง ๆ

  • โรคอัลไซเมอร์: AI จาก RetiSpec ช่วยตรวจหาอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นโดยใช้ AI วิเคราะห์ภาพจอประสาทตา (Retina)
  • โรคระบบทางเดินอาหารส่วนบน: AI จาก CytedHealth ตรวจหาความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารส่วนบน
  • โรคหัวใจ: ระบบ AI จาก Cardio intelligence วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ
  • ภาวะซึมเศร้า: ระบบ AI จาก LANGaware วิเคราะห์การพูดและเสียง เพื่อตรวจจับโรคทางสมองและสุขภาพจิตตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
  • โรคมะเร็ง(ทั่วไป): ระบบ AI สำหรับตรวจจับมะเร็งโดยทั่วไปในระยะเริ่มต้นจาก Harbinger Health
  • โรคตับ: AI จาก Oncoustics ในการตรวจหาความผิดปกติของตับ
  • โรคตา: AI จาก Mediwhale ช่วยตรวจคัดกรองโรคตาเบื้องต้น โดยดูจากภาพถ่ายจอประสาทตาเพียงภาพเดียว สามารถบอกได้ว่ามีความผิดปกติที่จอประสาทตา
  • โรคทรวงอก: AI จาก Coreline เน้นการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับทรวงอกและระบบหายใจ

รู้หรือไม่ 💡 นวัตกรรม AI ที่ช่วยสแกนหารอยโรคที่อาจมองเห็นได้ยากของไทยเองก็มีนะ เรียนรู้จากภาพถ่ายคนไทยด้วย! Inspectra CXR ตรวจหารอยโรคจากภาพเอกซเรย์ปอด และ Inspectra MMG ตรวจหามะเร็งเต้านม

ปัจจุบันทางการแพทย์มีการนำ AI เข้ามาใช้มากขึ้นและจากสถิติล่าสุด มี AI ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) แล้วกว่า 1,000 ระบบ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 223 ระบบในปี 2023 โดยส่วนใหญ่อยู่ในสาขารังสีวิทยา

ความน่าสนใจไม่ได้อยู่แค่ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น แต่อยู่ที่ความสามารถของ AI ที่พัฒนาไปไกลกว่าที่คาดคิด ตัวอย่างเช่น Med-Gemini ระบบ AI ทางการแพทย์ล่าสุดจาก Google ที่สามารถทำคะแนนในการสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ได้สูงถึง 91.1% แซงหน้า AI รุ่นก่อนหน้าอย่าง Med-PaLM 2

นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการนำ Gennerative AI เข้ามาช่วยในการทำงาน ลดภาระงานเอกสาร ให้คุณหมอได้โฟกัสกับคนไข้ดีได้มากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่ว่านี้คือ Ambient Scribe ที่ออกแบบมาช่วยบุคคลากรทางการแพทย์ โดยการถอดข้อมูลจากเสียงการสนทนาระหว่างแพทย์และคนไข้แบบเรียลไทม์ แต่ไม่ได้มีการไม่บันทึกเสียงเก็บไว้ และสร้างเอกสารทางคลินิกที่เหมาะสมเพื่อบันทึกลงในแฟ้มผู้ป่วยให้โดยอัตโนมัติเพื่อให้เก็บข้อมูลได้ครบถ้วนและประหยัดเวลาของแพทย์อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Generative AI จะยังไม่ได้รับการรับรองจาก USFDA แต่บทบาทของ AI ในการช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตเราอาจจะได้เห็นเทคโนโลยีเหล่านี้พาเราเข้าใกล้เป้าหมายของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic wellness) และการแพทย์เฉพาะบุคคล (Personalized medicine) ได้อย่างแท้จริง จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม AI ยังคงจะเป็นเทรนด์ Health tech ที่น่าจับตามองในปี 2025 นี้

RNA Therapeutics: ปฏิวัติการรักษาด้วยโมเลกุล RNA

หากพูดถึง RNA Therapeutics หลายคนอาจไม่คุ้นหู แต่ถ้าพูดถึงวัคซีน mRNA สำหรับ COVID-19 คงจะมีคนเริ่มเอ๊ะ อ๋อกันมากขึ้น นี่คือหนึ่งในความสำเร็จที่โดดเด่นของเทคโนโลยี RNA Therapeutics ที่กำลังปฏิวัติวงการรักษาโรค

รูปแสดงความแตกต่างระหว่าง DNA และ RNA

RNA เป็นโมเลกุลที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการถอดรหัสและการแสดงออกของข้อมูลทางพันธุกรรม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี RNA therapeutics เข้ามาเพื่อจัดการกับโปรตีนเดิมที่ ไม่สามารถรักษาได้ (undruggable) ซึ่งพบในโรคทางพันธุกรรม มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอื่นๆ

การรักษาด้วย RNA แบ่งออกเป็น 3 แนวทางหลัก:

  1. RNA interference (RNAi): เปรียบเหมือน “สวิตช์ปิด” ที่หยุดการสร้างโปรตีนที่ก่อให้เกิดโรค ทำงานโดยการจับและทำลาย RNA ที่จะสร้างโปรตีนที่ไม่พึงประสงค์
  2. Antisense Oligonucleotides (ASOs): ทำหน้าที่เป็น “บรรณาธิการ” แก้ไขรหัสพันธุกรรมที่ผิดปกติ เหมือนการแก้ไขข้อความที่พิมพ์ผิดก่อนที่จะถูกนำไปใช้
  3. Messenger RNA (mRNA): เป็นเสมือน “คู่มือสอน” ให้เซลล์สร้างโปรตีนที่จำเป็น เช่น แอนติบอดี

ความสำเร็จของเทคโนโลยีนี้เห็นได้ชัดจากบริษัท Alnylam Pharma ที่มีผลิตภัณฑ์ RNAi ได้รับการรับรองจาก FDA แล้ว 5 รายการ และมีอีก 15 รายการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ในขณะเดียวกันก็มีบริษัทสตาร์ทอัพจำนวนมากที่เข้ามาในตลาดนี้และพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง ซึ่งนั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไม RNA Therapeutics ถึงเป็นเทรนด์ Health tech ที่น่าจับตามองในปี 2025 นี้

Wearables 2.0 – BCIs And Implants

เมื่อปีก่อน ๆ หน้านี้เราจะพูดถึง อุปกรณ์ wearables ที่ใส่ประจำเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพของเราได้ตลอดเวลาเพื่อให้เราเห็นเทรนด์ข้อมูลสุขภาพของเราตลอด แต่ปีนี้สิ่งที่เราไม่พูดถึงไม่ได้คือ wearables 2.0 ที่เป็นการยกระดับอุปกรณ์ wearables ให้เชื่อมต่อกับมนุษย์ได้เชิงลึกยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือการชื่อมต่อสมองมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ หรือ brain-computer interfaces (BCIs)

เทคโนโลยีที่ทำให้เหมือนเราอยู่ในหนัง sci-fi นั้นมีการพัฒนาอยู่จริงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวอวัยวะได้เลย หรือที่เรียกว่ามีสภาวะ Locked-in ให้สามารถสื่อสารได้ผ่านอุปกรณ์อื่น โดย brain-computer interfaces (BCIs) แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ โดยอิงจากระดับการรุกล้ำเข้าไปในร่างกายของเครื่องมือ (Invasiveness) ได้แก่ รุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย (Invasive) และไม่รุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย (Non-invasive)

แม้ว่า BCIs แบบไม่รุกล้ำจะดูเหมือนทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า เพราะไม่ต้องผ่าตัดฝังชิป แต่ความท้าทายสำคัญคือความแม่นยำในการอ่านคลื่นสมองที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ นี่อาจเป็นที่มาของการพัฒนา BCIs แบบรุกล้ำเพียงเล็กน้อย (Minimally Invasive BCIs) ที่พยายามสร้างสมดุลระหว่างความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้งาน

ตัวอย่างของ wearables 2.0 ที่ได้รับความสนใจมาก ๆ คือ Neuralink โปรเจคเชื่อมต่อสมองมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ของอีลอน มัสก์ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยผู้ป่วยที่มีภาวะอัมพาตขั้นรุนแรงให้สามารถกลับมาสื่อสารได้อีกครั้งโดยใช้เพียงสัญญาณประสาท ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตขั้นรุนแรง เช่น เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) อาจสามารถกลับมาสื่อสารกับคนที่รักได้อีกครั้งในอนาคต โดยการเคลื่อนเคอร์เซอร์และพิมพ์ข้อความด้วยความคิดของตนเอง โดยโปรเจคนี้ USFDA ได้อนุญาตให้เริ่มมีการทดลองในมนุษย์ได้แล้วในปี 2023 และเมื่อปี 2024 ที่ผ่านมาอีลอน มัสก์ ได้เผยข่าวดีว่าสามารถฝังชิป Neuralink ในสมองสำเร็จ ผู้ป่วยสามารถควบคุมเมาส์ได้จากความคิดแล้ว (อ่านเพิ่มเติม: Elon Musk says first Neuralink patient can control a computer mouse through thinking)

แต่การแข่งขันในวงการนี้ไม่ได้มีเพียง Neuralink เท่านั้น Synchron บริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากทุนใหญ่อย่างเจฟฟ์ เบโซส์ เจ้าพ่อแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระดับโลกอย่าง Amazon และ บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้ง Microsoft ก็ได้พัฒนา Stentrode ที่โดดเด่นด้วยนวัตกรรมการฝังชิปโดยไม่ต้องผ่าตัดกะโหลกศีรษะ ความสำเร็จของ Synchron เริ่มปรากฏชัดตั้งแต่ปี 2021 เมื่อผู้ป่วยสามารถส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ได้สำเร็จ และล่าสุดในปี 2024 ได้รับการอนุมัติจาก USFDA ให้ติดตั้งอุปกรณ์ในระยะยาว นับเป็นก้าวสำคัญที่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด และตอนนี้ Synchorn กำลังก้าวไปอีกขั้นด้วยการนำรวมกับ ChatGPT เพื่อให้การสั่งงานอุปกรณ์ได้ง่ายขึ้นและลดเวลาการพิมพ์แต่ละคำที่จากเดิมที่ต้องใช้เวลามาก (อ่านเพิ่มเติม: Synchron has integrated ChatGPT into its brain implants)

เทคโนโลยี brain-computer interfaces (BCIs) ก็ดูจะสามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วยจำนวนมากและอาจเป็นความหวังใหม่สำหรับผู้ป่วยและครอบครัวที่รอคอยการกลับมาของการสื่อสารที่สูญหายไป อย่างไรก็ตามก็ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่มีคำถามทางจริยธรรมมากมาย และเราอาจจะได้เห็นการพูดคุยและกระแสของ BCIs ที่มากขึ้นในปี 2025

อนาคตของ Health Tech

เทคโนโลยีทั้งสามด้านนี้ไม่ได้ทำงานแยกจากกัน แต่กำลังผสานกันเพื่อสร้างระบบสาธารณสุขที่ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือ เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้มาแทนที่บุคลากรทางการแพทย์ แต่มาเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้การรักษามีความแม่นยำมากขึ้น และทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพได้ง่ายขึ้น อีกทั้งจะให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับความท้าทายด้านสาธารณสุขในอนาคต

ที่มา

Facebook
Twitter
LinkedIn

Related Resources

เพอเซ็ปทราภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ BDMS ที่คว้ารางวัล Best Innovative Company Awards จาก SET Awards 2024 ด้วยนวัตกรรม AI วิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีทรวงอก
While startup life is often characterized by its fast-paced, bustling environment, what's about life at Perceptra? Let's dive in to explore more about our culture (We have some interview tricks from our HR team inside the article!)
Meet Boss, our DevOps Engineer whose story didn't start in a traditional software role